หลัการทำงานของ Thermocouple

Thermocouple คือ เซ็นเซอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ โดยใช้หลักการการนำความร้อน (Conduction) หรือการพาความร้อน (Convention) จากสิ่งที่ต้องการวัดเข้าสู่ตัวเซ็นเซอร์
Thermocouple สร้างจากลวดโลหะ 2 ชนิดที่แตกต่างกันมาเชื่อมต่อกัน โดยจุดวัดอุณหภูมิ (Hot Junction) คือจุดที่ลวดทั้งสองบรรจบกัน ปลายอีกด้านของลวดทั้งสอง (Cold Junction) จะเชื่อมต่อกับเครื่องมือวัดอุณหภูมิที่อ่านค่าโดยการวัดค่าแรงดันไฟฟ้าโดย Thermocouple นั้นจะให้ค่าแรงดันไฟฟ้าที่แปรผันตามค่าอุณหภูมิ
.
กลไกที่สร้างแรงดันไฟฟ้าให้เกิดขึ้นภายในตัว Thermocouple นั้น จะอาศัยปรากฏการณ์ภายในโลหะ ที่ชื่อ “Seebeck Effect” เมื่อเราให้ความร้อนกับโลหะที่ปลายด้านหนึ่งและเกิดความต่างของอุณหภูมิกับปลายอีกด้านหนึ่ง (Different Temperature Gardients) จะก่อให้เกิดความต่างศักดิ์ของไฟฟ้าขึ้นระหว่างฝั่งอุณหภูมิที่ร้อนและเย็นของโลหะ
การนำลวดโลหะมาเชื่อมต่อกันเพื่อสร้าง Thermocouple นั้น จำเป็นต้องเป็นโลหะที่ต่างชนิดกัน เพื่อให้ค่าแรงดันสุทธิมีค่าไม่เป็น เป็น 0 เช่น ทองแดงให้ค่าแรงดัน 60mV เหล็กให้ค่าแรงดัน 6mV หากเรานำโลหะทั้ง 2 ชนิดมาเชื่อมต่อกัน และวัดค่าแรงดันไฟฟ้าที่ปลายโลหะทั้งสอง ค่าที่ออกมาจะเป็น 54mV หากเป็นโลหะชนิดเดียวกันจะให้ค่าแรงดันเท่ากันส่งผลให้แรงดันหักล้างกันพอดีและค่าสุทธิมีค่าเป็น 0 mV
.