ความสำคัญในการสอบเทียบเครื่องมือวัด

การสอบเทียบเครื่องมือวัด มีความสำคัญอย่างไร ? ต้องตรวจวัดอะไรบ้าง ?

.

การสอบเทียบเครื่องมือวัดเป็นประจำนั้นช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้ผลิตและ/หรือผู้ใช้งาน ในการใช้เครื่องมือวัดเพื่อการตรวจสอบกระบวนการต่างๆ ยกตัวอย่าง ในภาคอุตสาหกรรม จะมีมาตรฐานหลักๆ อยู่ 2 ด้านคือ

1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เช่น ใช้ระยะผลิตเท่าไหร่ ใช้อุณหภูมิเท่าไหร่ สเปคสินค้าเป็นแบบไหน

2. มาตรฐานระบบ เช่น เป็นมาตรฐานระบบสากล จะมีค่าที่กำหนดตายตัว

.

แล้วเราจะมั่นใจได้ไงว่าสินค้าที่ออกจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคนั้นมีคุณภาพ?

เครื่องมือวัดที่ใช้สำหรับวัดคุณภาพสินค้าต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ เที่ยงตรง การสอบเทียบเครื่องมือวัดจึงเป็นสำคัญ ซึ่งการสอบเทียบเครื่องมือวัดควรสอบเทียบกับห้องปฎิบัติการที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เมื่อเครื่องมือวัดผ่านการสอบเทียบจะได้หลักฐานเป็น “ ใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัด ” ที่แสดงผลจากการสอบเทียบและค่าความไม่แน่นอนของการวัดที่สามารถสอบกลับสู่หน่วย SI unit ซึ่งเป็นมาตรฐานโดยสถาบันแห่งชาติได้

การสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration) คือ การเปรียบเทียบค่ากันระหว่างสองเครื่องมือวัด คือ STD และ UUC

STD ย่อมาจาก Standard คือ เครื่องมือมาตรฐาน โดย STD ควรมีความแม่นยำมากกว่า UUC 3 เท่าขึ้นไป

UUC/UUT ย่อมาจาก Unit under calibration/test คือ เครื่องมือวัดที่นำมาสอบเทียบ

.

ความถี่ในการสอบเทียบ

โดยปกติ ความถี่ในการสอบเทียบจะขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้งานอยู่เป็นประจำหรือไม่ ให้ตั้งคำถามว่าถ้าหากเครื่องมือวัดที่ใช้อ่านค่าผิดไปจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะส่งผลกระทบที่เสียหายต่อคุณภาพของข้อมูลหรือสินค้าหรือไม่ หากพบว่าการอ่านค่าของเครื่องมือวัดเป็นเรื่องสำคัญแสดงว่าเครื่องมือวัดต้องดำเนินการสอบเทียบ เช่น กระบวนการผลิต และความปลอดภัยต่างๆ โดยปกติอุตสาหกรรมโรงงานมักส่งเครื่องมือสอบเทียบทุกๆ 1 ปี

.

UIM มีบริการสอบเทียบที่ได้รับการรับรองจาก Iso 17025 ทั้งหมด 4 สาขา ประกอบไปด้วย

สาขาอุณหภูมิ : รับบริการ Sensor (RTD,TC) /indicator/transmitter ย่านการวัด -30 ถึง 400 องศา

สาขาความดัน : รับเฉพาะ Pressure Gauge ย่านการวัด 0 ถึง 1000 บาร์

สาขาความชื้น รับบริการ Indicator/Transmitter ย่านการวัด 15 ถึง 90 ความชื้น

สาขาเคมี : Conductivity Meter หรือ ค่าความนำไฟฟ้า ย่านการวัด 147 us 1413us 12.88 ms/cm (มิลลิซีเมนต์ ต่อ เซ็นติเมตร)

ตอนนี้ทางห้องแลปของเรา กำลังขยายขอบข่ายเพิ่มเติม เพื่อรองรับการของลูกค้าให้มากขึ้น มีดังนี้

สาขาเคมี : pH Meter ย่าวการวัด 4 7 10

สาขาอุณหภูมิ Dial Thermometer หรือ bimetal thermometer ย่านการวัด 0 ถึง 400 องศา